เมนู

กรรมขาว ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ไม่ประกอบด้วยกรรมมี
ทุกข์เป็นกำไร ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นวิบาก ประพฤติ
ไม่ประกอบด้วยธรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในญาณ ญาณมีจริยา
เห็นปานนี้ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ญาณจริยา นี้ชื่อว่าญาณจริยา
วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา ชื่อว่า เพราะอรรถว่า
รู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะอรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึง
กล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณ.


17. อรรถกถาจริยานานัตตญาณนิทเทส


165] พึงทราบวินิจฉัยในจริยานานัตตญาณนิทเทสดังต่อไปนี้.
ในบทมีอาทิว่า วิญฺญาณจริยา มีความดังต่อไปนี้ ชื่อว่า จริยา1
เพราะอรรถว่าประพฤติในอารมณ์. จริยาคือวิญญาณ ชื่อว่า วิญญาณ
จริยา.
ชื่อว่า อัญญาณจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติด้วยความไม่รู้,
หรือประพฤติเพราะความไม่รู้, หรือประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้, หรือ
ประพฤติซึ่งความไม่รู้.
1. อารมฺมเณ จรตีติ จริยา. ชื่อว่า จริยา เพราะอรรถว่าท่องเที่ยวไปในอารมณ์.

ชื่อว่า ญาณจริยา เพราะอรรถว่าจริยาคือญาณ, หรือการ
ประพฤติด้วยญาณ, หรือประพฤติเพราะญาณ, หรือประพฤติในอารมณ์
ที่รู้แล้ว, หรือประพฤติซึ่งความรู้.

บทว่า ทสฺสนตฺถาย - เพื่อต้องการเห็น คือ เป็นไปเพื่อ
ต้องการเห็นรูป. บทว่า อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา - กิริยาคือความนึก
เป็นอัพยากฤต คือ ชื่อว่า อาวัชชนะ เพราะอรรถว่านำออกไปจาก
สันดานอันเป็นภวังค์ แล้วนึก คือ น้อมไปสู่จิตสันดานในรูปารมณ์.
ชื่อว่า กิริยา เพราะอรรถว่าเป็นเพียงการกระทำโดยความไม่มีวิบาก.
ชื่อว่า อัพยกฤต เพราะอรรถว่าพยากรณ์ไม่ได้ว่าเป็นกุศลหรืออกุศล.
บทว่า ทสฺสนฏฺโฐ - เป็นแต่เพียงเห็น. ชื่อว่า ทสฺสนํ-
เพราะอรรถว่าเป็นเหตุเห็น หรือเห็นเอง หรือเป็นแต่เพียงเห็นรูป
นั้น. อรรถะ คือ การเห็น ชื่อว่า ทสฺสนฏฺโฐ.
บทว่า จกฺขุวิญฺญาณํ - จักขุวิญญาณ ได้แก่ กุศลวิบาก หรือ
อกุศลวิบาก.
บทว่า ทิฏฐตฺตา - เพราะได้เห็นแล้ว คือ เพราะได้เห็น
รูปารมณ์ด้วยจักขุวิญญาณ เพราะไม่มีการรับอารมณ์ที่ไม่เห็น.
บทว่า อภินิโรปนา วิปากมโนธาตุ - มโนธาตุอันเป็นวิบาก
ที่ขึ้นสู่อารมณ์. ชื่อว่า อภินิโรปนา เพราะอรรถว่ายกขึ้นสู่อารมณ์
ที่เห็นแล้ว. สัมปฏิจฉนมโนธาตุเป็นวิบากทั้งสอง.

บทว่า อภินิโรปิตตฺตา - เพราะขึ้นแล้ว คือ เพราะขึ้นสู่
รูปารมณ์.
บทว่า วิปากมโนวิญฺญาณธาตุ - มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก
คือ สันตีรณมโนวิญญาณธาตุ พิจารณาอารมณ์เป็นวิบากทั้งสอง. แม้
ในโสตทวารเป็นต้นก็มีนัยนี้ แม้เมื่อท่านไม่กล่าวถึงโวฏฐัพพนะ - การ
กำหนดอารมณ์ ในลำดับสันตีรณะ - การพิจารณาอารมณ์ก็พึงถือเอาว่า
ย่อมได้ เพราะพระอรรถกถาจารย์กล่าวไว้แล้ว.
บทว่า วิชานนตฺถาย - เพื่อต้องการรู้แจ้ง คือ เพื่อต้องการ
รู้แจ้งธรรมารมณ์ และอารมณ์มีรูปเป็นต้น.
บทว่า อาวชฺชนกิริยาพยากตา - กิริยาคือความนึกเป็นอัพยา-
กฤต ได้แก่ จิตอันเป็นมโนทวาราวัชชนะ.
บทว่า วิชานนฏฺโฐ เป็นแต่เพียงรู้แจ้ง ความว่า การรู้แจ้ง
อารมณ์ด้วยสามารถจิตแล่นไป ในลำดับอารมณ์นั้นเป็นอรรถ มิใช่อื่น.
เพราะท่านกล่าวถึงชวนจิตเป็นอกุศล และชวนจิตอันเป็นมรรคผลแห่ง
วิปัสสนาไว้ต่างหากแล้วในเบื้องหน้า ในที่นี้ควรถือเอาชวนจิตที่เหลือ.
แต่ควรถือเอาชวนจิตที่ให้เกิดความร่าเริง จากคำมีอาทิว่า ชื่อว่า
วิญญาณจริยา1 เพราะอรรถว่าไม่ประพฤติประกอบด้วยกุศลกรรม. เพราะ
1. ขุ. ป. 31/166.

ท่านกล่าวอเหตุกจิตไว้แล้ว ในทวาร 6 พึงทราบว่า อเหตุกจิต 18
คือ อาวัชชจิต 2 ทวิปัญจวิญญาณจิต คือวิญญาณ 5 อย่างละ 2
สัมปฏิจฉนจิต 2 สันตีรณจิต 3 หสิตุปปาทจิต - จิตให้เกิดความร่าเริง 1
ว่าเป็นวิญญาณจริยา.

166]บัดนี้ พระสารีบุตรเถระเพื่อจะแสดงว่า ที่ชื่อว่า
วิญญาณจริยา เพราะอรรถว่าเพียงรู้แจ้งอารมณ์ จึงกล่าวบทมีอาทิว่า
นีราคา จรติ - ประพฤติไม่มีราคะ ความว่า วิญญาณย่อมถึงระหว่าง
การตั้งลงในการประกอบด้วยราคะเป็นต้น และการประกอบด้วยศรัทธา
เป็นต้น. เมื่อไม่มีการประกอบเหล่านั้น วิญญาณย่อมตั้งอยู่ในที่ตั้งของ
ตน. เพราะฉะนั้น พระสารีบุตรเถระย่อมแสดงเพียงกิจของวิญญาณ
แห่งวิญญาณที่ท่านกล่าวแล้วนั้น ด้วยคำมี นีราคา เป็นต้น. ชื่อว่า
นีราคา เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีราคะ. อาจารย์บางพวกกล่าวทำ
เป็นรัสสะว่า นิราคา.

อนึ่ง คนมีราคะด้วยความกำหนัด. มีโทสะด้วยการประทุษร้าย.
มีโมหะด้วยการหลง. มีมานะด้วยการถือตัว. มีทิฏฐิด้วยความเห็น
วิปริต. ความเป็นผู้ฟุ้งซ่าน หรือความเป็นผู้ไม่สงบ ชื่อว่า อุทธัจจะ.
วิจิกิจฉา มีอรรถดังได้กล่าวแล้ว.
ชื่อว่า อนุสัย เพราะอรรถว่านอนเนื่องในสันดาน.

กล่าวว่า นิรนุสยา ท่านกล่าวว่า นานุสยา. มีความอย่างเดียวกันว่า
ไม่มีอนุสัย. ในบทนี้ พึงทราบว่า ไม่มีกิเลสอย่างกลางที่ถึงความครอบงำ.
จริงอยู่ วิญญาณจริยาท่านมิได้กล่าวถึงอนุสัยที่ละได้แล้ว. พระ-
สารีบุตรเถระเพื่อแสดงถึงทัสนะในระหว่างโดยปริยายว่า วิญญาณจริยา
ใดมีชื่อว่า นีราคา เป็นต้น. วิญญาณจริยานั้นเป็นอันชื่อว่าพ้นแล้ว
จากราคะเป็นต้น จึงกล่าวบทมีอาทิว่า ราควิปฺปยุตฺตา - พ้นแล้วจาก
อนึ่ง เพื่อเห็นความที่จิตพ้นจากกิเลสเหล่าอื่นอีก จึงกล่าวว่า
กุสเลหิ กมฺเมหิ เป็นอาทิ. กุศลนั่นแหละเป็นกรรมไม่มีโทษ เพราะ
ไม่มีโทษมีราคะเป็นต้น.
ชื่อว่า สุกฺกานิ - กรรมขาว เพราะประกอบด้วยหิริโอตตัปปะ
อันทำความเป็นผู้บริสุทธิ์.
ชื่อว่า สุขุทฺรยานิ เพราะอรรถว่ามีสุขเกิดขึ้น เพราะมีสุข
เป็นไป.
อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า สุขุทฺรยานิ เพราะอรรถว่ามีสุขเกิดขึ้น
เป็นกำไร เพราะมีสุขเป็นวิบาก. พึงประกอบอกุศลโดยตรงกันข้ามกับ
ที่กล่าวแล้ว.
บทว่า วิญฺญาเต จรติ ประพฤติในอารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ความว่า
อารมณ์ที่รู้แจ้งด้วยความรู้ชัด ชื่อว่า วิญญาตะ ในอารมณ์ที่รู้แจ้ง

แล้วนั้น. ท่านอธิบายไว้อย่างไร. ท่านอธิบายไว้ว่า ชื่อว่า วิญญาณ
จริยา เพราะประพฤติในความรู้แจ้งอารมณ์ที่รู้แจ้ง เพราะประกอบ
ด้วยความรู้ชัดดุจผ้าสีเขียว เพราะประกอบด้วยสีเขียว.
บทว่า วิญฺญาณสฺส เอวรูปา จริยา โหติ - วิญญาณมีความ
ประพฤติเห็นปานนี้ ความว่า วิญญาณมีประการดังกล่าวแล้ว เป็น
วิญญาณมีความประพฤติดังได้กล่าวแล้ว. อนึ่ง ท่านกล่าวโดยโวหารว่า
ความประพฤติของวิญญาณ. แต่ไม่มีความประพฤติต่างหากจากวิญญาณ.
บทว่า ปกติปริสุทฺธมิทํ จิตฺตํ นิกฺกิเลสฏฺเฐน - จิตนี้บริสุทธิ์
โดยปรกติ เพราะอรรถว่าไม่มีกิเลส ความว่า จิตมีประการดังกล่าว
แล้วนี้ บริสุทธิ์โดยปรกติ เพราะไม่มีกิเลสมีราคะเป็นต้น. เพราะฉะนั้น
ท่านจึงกล่าวไว้ว่า ชื่อว่า วิญญาณจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติเพียง
รู้เท่านั้น. ปาฐะว่า นิเกฺลสฏฺเฐน ก็มี.
[167 ] พึงทราบวินิจฉัยใน อญฺญาณจริยา ดังต่อไปนี้. บทว่า
มนาปิเกสุ - ในรูปอันเป็นที่รัก ความว่า ชื่อว่า มนาปานิ เพราะ
อรรถว่าเอิบอิ่ม เลื่อมใสในใจ. หรือว่า ยังใจให้เอิบอิ่มให้เจริญ. การ
ยิ่งใจให้เอิบอิ่มนั่นแหละ ชื่อว่า มนาปิกานิ. ในรูปอันเป็นที่เอิบอิ่ม
นั้น. รูปเหล่านั้นจะเป็นรูปที่น่าปรารถนา หรือไม่น่าปรารถนาก็ตาม.
ด้วยอำนาจของศัพท์ คือรูปที่น่ารัก. เพราะราคะย่อมไม่เกิดในรูปที่น่า
ปรารถนาเท่านั้น โทสะก็ย่อมไม่เกิดในรูปที่ไม่น่าปรารถนาเท่านั้น.

บทว่า ราคสฺส ชวนตฺถาย - เพื่อความแล่นไปแห่งราคะ คือ
เป็นไปเพื่อความแล่นไปแห่งราคะด้วยอำนาจแห่งสันตติ.
บทว่า อาวชฺชนกิริยาพฺยากตา - กิริยาคือความนึกเป็นอัพยา-
กฤต ความว่า มโนธาตุเป็นกิริยา คือความนึกเป็นอัพยากฤตเป็นการ
กระทำในใจโดยไม่แยบคาย ในจักขุทวาร.
บทว่า ราคสฺส ชวนา - ความแล่นไปแห่งราคะ คือ ราคะ
เป็นไป 7 ครั้ง. ราคะนั่นแหละเป็นไปบ่อย ๆ.
บทว่า อญฺญาณจริยา - ประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้ ท่านอธิบาย
ว่า ประพฤติราคะโดยไม่รู้ เพราะราคะเกิดโดยไม่รู้. แม้ในบทที่เหลือ
ก็มีนัยนี้เหมือนกัน.
บทว่า ตทุภเยน อสมเปกฺขนสฺมึ วตฺถุสฺมึ - ในวัตถุที่มิได้
เพ่งเล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น ได้แก่ ในวัตถุ กล่าวคือ รูปารมณ์
เว้นจากความเพ่งเล็ง ด้วยอำนาจแห่งราคะและโทสะ.
บทว่า โมหสฺส ชวนตถาย - เพื่อเล่นไปแห่งโมหะ คือ เพื่อ
แล่นไปแห่งโมหะ ด้วยอำนาจแห่งวิจิกิจฉาและอุทธัจจะ
บทว่า อญฺญาณจริยา คือ ประพฤติเพื่อความไม่รู้ มิใช่เพื่อ
อย่างอื่น.
บทมีอาทิว่า วินิพนฺธสฺส - แห่งมานะทราบผูกพันเป็นบทกล่าวถึง
สภาพแห่งมานะเป็นต้น.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วินิพนฺธสฺส ได้แก่ มานะที่ผูกพัน
แล้วตั้งอยู่ด้วยความเย่อหยิ่ง.
บทว่า ปรามฏฺฐาย แห่งทิฏฐิที่ยึดถือ ได้แก่ ทิฏฐิที่ก้าวล่วง
ความที่รูปเป็นของไม่เที่ยงเป็นต้น แล้วยึดถือความเป็นของเที่ยงเป็นต้น
จากฝ่ายอื่น.
บทว่า วิกฺเขปคตสฺส - แห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน คือ
อุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่านไปในรูปารมณ์.
บทว่า อนิฏฺฐาคตาย - แห้งวิจิกิจฉาที่ไมถึงความตกลง คือ ถึง
ความไม่ตัดสินใจ.
บทว่า ถามคตฺสฺส - แห่งอนุสัยถึงความเป็นธรรมมีเรี่ยวแรง
คือ ถึงความมีกำลัง.
บทว่า ธมฺเมสุ คือ ในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้น หรือเป็น
ธรรมารมณ์.
168 - 170] เพราะราคะเป็นต้นย่อมปรากฏด้วยความไม่รู้.
ฉะนั้น พระสารีบุตรเถระเมื่อจะยังความไม่รู้ให้แปลกออกไป ด้วยการ
ประกอบกิเลสมีราคะเป็นต้น จึงกล่าวบทมีอาทิว่า สราคา จรติ-
ประพฤติมีราคะ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สราคา จรติ พึงทราบถึงความประพฤติ
ด้วยการแล่นไปแห่งโมหะ มานะ ทิฏฐิ มานานุสัย ทิฏฐานุสัย

อวิชชานุสัย.
บทว่า สโทสา จรติ ประพฤติมีโทสะ ได้แก่ ประพฤติด้วย
การแล่นไปแห่งอวิชชาอนุสัย คือ โมหะ.
บทว่า สโมหา จรติ - ประพฤติมีโมหะ ได้แก่ ประพฤติด้วย
การแล่นไปแห่งราคะ โทสะ มานะ ทิฏฐิ อุทธัจจะ และวิจิกิจฉานุสัย.
บทว่า สมานา จรติ - ประพฤติมีมานะ ได้แก่ ประพฤติ
ด้วยการแล่นไปแห่งราคะ โมหะ กามราคะ ภวราคะ. อวิชชานุสัย.
บทว่า สทิฏฺฐิ จรติ - ประพฤติมีทิฏฐิ ได้แก่ ประพฤติด้วย
การแล่นไปแห่งราคะ โมหะ กามราคะและอวิชชานุสัย.
บทว่า สอุทฺธจฺจา จรติ สวิจิกิจฺฉา จรติ - ประพฤติมี
อุทธัจจะ ประพฤติมีวิจิกิจฉา ได้แก่ ประพฤติด้วยการแล่นไปแห่งโมหะ
คืออวิชชานุสัย.
บทว่า สานุสยา จรติ - ประพฤติมีอนุสัย แม้ในบทนี้ก็ควรทำ
อนุสัยหนึ่ง ๆ ให้เป็นมูลตามันที่กล่าวแล้วนั่นแหล่ะ แล้วประกอบ
ความประพฤติมีอนุสัย ด้วยอำนาจอนุสัยที่เหลือซึ่งได้ในจิตนั้น.
บทมีอาทิว่า ราคสมฺปยุตฺตา - ประพฤติประกอบด้วยราคะ
เป็นคำไวพจน์ของความประพฤติมีราคะเป็นต้นนั่นเอง.
จริงอยู่ ความประพฤตินั้นเอง ย่อมเป็นไปกับด้วยราคะ

เป็นต้นด้วยสามารถการประกอบกัน เพราะเหตุนั้นจึงได้ ชื่อทั้งหลาย
มีอาทิว่า สราคา-มีราคะ. ความประพฤติ ประกอบด้วยประการทั้งหลาย
การเกิดร่วมกัน ดับร่วมกัน มีวัตถุร่วมกัน และอารมณ์ร่วมกัน
เสมอด้วยราคะเป็นต้น เพราะเหตุนั้นจึงได้ ชื่อทั้งหลาย มีอาทิว่า
ราคสมฺปยุตฺตา.
อนึ่ง เพราะความประพฤตินั้นไม่ประกอบด้วยกรรมเป็นกุสล
เป็นต้น ประกอบด้วยกรรมเป็นเสกสลเป็นต้น. ฉะนั้น พระสารีบุตร
เถระ. เพื่อแสดง อญฺญาณเจริยา จึงกล่าวบทมีอาทิว่า กุสเลหิ
กมฺเมหิ -
ด้วยกรรมเป็นกุสล.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อณฺญาเต - ในอารมณ์ที่ไม่รู้ คือ ใน
อารมณ์ที่ไม่รู้แห่งสภาวะที่เป็นจริง เพราะโมหะมีความไม่รู้เป็นลักษณะ.
บทที่เหลือมีความได้กล่าวไว้แล้ว.

พึงทราบวินิจฉัยในญาณจริยาดังต่อไปนี้. เพราะกิริยาคืออาวัช-
ชนะ - การนึกเป็นอัพยากฤต เป็นปัจจัยในลำดับแห่งวิวัฏฏนานุปัส-
สนา - การพิจารณาเห็นความคลายออกเป็นต้นไม่มี ฉะนั้น เพื่อ
ประโยชน์แก่วิวัฏฏนานุปัสนาเป็นต้นเหล่านั้น ท่านจึงไม่กล่าวถึง
กิริยาคือการนี้เป็นอัพยาฤต กล่าววิวัฏฏนานุปัสนาเป็นต้นเท่านั้น.
จริงอยู่ การนึกย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่อนุโลมญาณเท่านั้น จากนั้น
ท่านกล่าวถึงวิวัฏฏนานุปัสนามรรคและผล.

อนึ่ง ในบทว่า ผลสมาปตฺติ นี้ ญาณจริยาจะเกิดในลำดับ
มรรคก็ตาม เกิดในลำดับผลก็ตาม. ท่านประสงค์เอาแม้ทั้งสองอย่าง.
ในบทมีอาทิว่า นีราคา จรติ - ประพฤติไม่มีราคะ พึงทราบ
ความไม่มีราคะเป็นต้น ด้วยการกำจัดราคะเป็นต้น. โดยอรรถเพียง
ความไม่มีราคะเป็นต้นในวิญญาณจริยา.
บทว่า ญาเต - ในอารมณ์ที่รู้ คือ ในอารมณ์ที่รู้ตามความ
เป็นจริง. พระสารีบุตรเถระแสดงถึงความผสมกันและกันของจริยา 3
ด้วยบทมีอาทิว่า อญฺญา วิญฺณาณจริยา. เพราะวิญญาณจริยามี
อเหตุกจิตเกิดขึ้นด้วยสามารถเพียงทำหน้าที่รู้. อัญญาณจริยาด้วย
สามารถอกุศลจิตเกิดขึ้น 12 ดวง มีหน้าที่ไม่รู้. ญาณจริยาด้วยสามารถ
แห่งวิปัสสนา มรรค ผล ทำหน้าที่รู้โดยพิเศษ.
พึงทราบว่า จริยาเหล่านี้ ผสมกันและกัน. มีสเหตุกกามาวจร
เป็นกิริยากุศล เว้นวิปัสสนา มีสเหตุกกามาวจรเป็นวิบาก และมี
รูปาวจรกุศล อรูปาวจรกุศล เป็นอัพยากฤต พ้นจากจริยา 3.
พึงทราบว่า ปัจจเวกขณญาณของพระเสกขะ อเสกขะ เป็น
การพิจารณานิพพาน มรรค ผล เพราะท่านแสดงญาณจริยา อัน
เป็นวิวัฏฏนานุปัสนา มีนิพพานเป็นอารมณ์ ท่านสงเคราะห์เข้าใน
ญาณจริยา. เพราะจริยาแม้เหล่านั้นทำหน้าที่ของญาณโดยพิเศษด้วย
ประการฉะนี้.
จบ อรรถกถาจริยานานัตตญาณนิทเทส

ภูมินานัตตญาณนิทเทส



[171]ปัญญาในการกำหนดธรรม 4 เป็นภูมินานัตตญาณ
อย่างไร ?
ภูมิ 4 คือ กามาวจรภูมิ รูปาวจรภูมิ อรูปาจรภูมิ โลกุตรภูมิ.
[172]กามาวจรภูมิเป็นไฉน ? ขันธ์ ธาตุ อายตนะ รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องใน
โอกาสนี้ ข้างล่างตลอดไปถึงอเวจีนรกเป็นที่สุด ข้างบนขึ้นไปจนถึง
เทวดาชาวปรนิมมิตวสวัตดีเป็นที่สุด นี้เป็นกามาวจรภูมิ.
[173] รูปาวจรภูมิเป็นไฉน ? ธรรม คือ จิตและเจตสิกของ
บุคคลผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่าน ผู้มี
พรหมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันท่องเที่ยว คือ นับเนื่องใน
โอกาสนี้ ข้างล่างตั้งแต่พรหมโลกขึ้นไปจนถึงเทวดาชั้นอกนิฏฐะ ข้างบน
เป็นที่สุด นี้ชื่อว่ารูปาจรภูมิ.
[174] อรูปาวจรภูมิเป็นไฉน ? ธรรม คือ จิตละเจตสิก
ของบุคคลผู้เข้าสมาบัติ ของบุคคลผู้เกิดในพรหมโลก หรือของท่าน
ผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เป็นสุขในปัจจุบัน อันนับเนื่องในโอกาสนี้ ข้าง
ล่างตั้งแต่เทวดาผู้เข้าถึงชั้นอากาสานัญจายตนภพ ตลอดขึ้นไปจนถึง